วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หน้าที่ของไต

หน้าที่ของไต

  ไตเป็น อวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง ขนาดเท่ากำปั้น คนปกติมีไต 2 ข้างวางอยู่บริเวณกลางหลังข้างละ 1 อัน โดยตั้งอยู่บริเวณด้านหลังใต้ต่อกระดูกชายโครง บริเวณบั้นเอว ไตเปรียบเสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษที่มีความมหัศจรรย์และมีจำเป็นอย่างมาก ในการดำรงชีวิต แต่ละวันจะมีเลือดประมาณ 200 หน่วยกรองผ่านเนื้อไต ขับออกเป็นของเสียในรูปน้ำปัสสาวะ 2 หน่วย ลงสู่ท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ เพื่อถ่ายปัสสาวะออกนอกร่างกาย ไตทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ พร้อมกับทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย
            หน้าที่สำคัญของไต คือ การสร้างปัสสาวะซึ่งจะช่วยขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญสารอาหารต่าง ๆ และช่วยในการรักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย นอกจากนั้นไตยังมีหน้าที่ในการสร้างสารที่ควบคุมความดันโลหิต และสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้นเมื่อไตทำงานน้อยลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูงและโลหิตจางร่วมด้วย
            ขับถ่ายของเสีย
          ไตทำหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่าง กาย ของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีอะตินีน กรดยูริก และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ อาหารประเภทโปรตีนมีมากในเนื้อสัตว์และอาหารจำพวกถั่ว ซึ่งหากของเสียจากอาหารประเภทโปรตีนเหล่านี้คั่งค้างอยู่ในร่างกายมากๆ จะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย (uremia) นอกจากนี้ไตยังทำหน้าที่กำจัดสารพิษ สารเคมี รวมทั้งขับถ่ายยาต่างๆออกจากร่างกายอีกด้วย

สมดุลน้ำในร่างกาย 
โกยเฉลี่ยร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัวน้ำมีบทบาทสำคัญต่อการหายใจ การย่อยอาหาร และการขับถ่าย ในสภาวะปกติไตจะทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในร่างกายให้ปกติ
อาการแสดงของสภาวะน้ำเกิน 
1.บวมบริเวณเปลือกตา นิ้ว ข้อต่างๆcapd1
2.น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่าวันละ 0.5 กก.
3.ปวดศีรษะ
4.ความดันโลหิตสูง
5.หายใจตื้น
ในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ป่วยจะไอ เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง หายใจหอบเหนื่อย และนอนราบไม่ได้capdsakon2
การป้องกันสภาวะน้ำเกิน 
  1. ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
  2. วัดความดันโลหิตอย่างน้องวันละครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม และดื่มน้ำเท่าที่จำเป็น
  4. เพิ่มความเข้มข้นของน้ำยาพีดี หากมีอาการบวมมากให้ใช้2.5%หรือ 4.25% ร่วมกับ 1.5% จนกว่าจะยุบcapd3บวม แล้วจึงค่อยกลับมาใช้น้ำยาพีดี 1.5% เพียงชนิดเดียว


น้ำหนักตัวที่คาดหวัง 
คือน้ำหนักที่ควรจะเป็นของผู้ป่วยในสภาวะปกติ ที่ไม่มีภาวะน้ำเกิน
การควบคุมน้ำ 
ในคนที่ไตปกติ ไตจะควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในสมดุล ถ้าได้รับน้ำมากไตจะขับน้ำส่วนเกินออก ปริมาตรปัสสาวะจะเพิ่มขึ้น แต่หากได้รับน้ำในปริมาณน้อย ไตจะลดปริมาณการขับน้ำ ปริมาตรปัสสาวะจะลดลง ต่างจากผู้ป่วยโรคไตวายที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ดังกล่าวนี้ได้มาสามารถปรับ ปัสสาวะตามปริมาณการดื่มน้ำ น้ำที่ได้รับจะคั่งอยู่ในตัวทำให้น้ำหนักเพิ่มและเกิดภาวะบวมน้ำ จะมีอาการแน่น เหนื่อย นอนราบไม่ได้ ความดันโลหิตสูง
ปริมาณน้ำบริโภคที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ล้างไตทางช่องท้อง คือ ปริมาณน้ำ 500 มิลลิลิตร บวกกับกำไรรวมจากน้ำยาพีดีที่ได้ในแต่ละวัน บวกกับปริมาณปัสสาวะทั้งวัน  ทั้งนี้ปริมาณน้ำบริโภคหมายรวยถึงน้ำที่ได้จากอาหาร เครื่องดื่ม ผัก และผลไม้


อาการบวมน้ำของผู้หญิง เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร และรักษายังงัยถึงหาย?

    อาการบวมน้ำ เกิดขึ้นเมื่อของเหลวที่ควรเดินทางผ่านหลอดเลือดและน้ำเหลืองกลับซึมออกมา สู่เซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ สาเหตุที่พบบ่อยคือ บริโภคเกลือมากเกินไป การสวมถุงเท้าที่ยาวถึงเข่าและรัดแน่นด้านบน การยืนนานๆ และการนั่งห้อยขา ก็ทำให้ข้อเท้าบวมได้ ส่วนอาการบวมน้ำก่อนมีประจำเดือน เกิดจากระดับฮอร์โมนแปรปรวนซึ่งมีผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและต่อมน้ำ เหลือง สาเหตุอื่นคือ เกิดจากโรคตับ โรคไต หรือภาวะหัวใจล้มเหลว


         การ รักษา การรักษาอาการบวมน้ำนั้นต้องดูที่สาเหตุ บางครั้งแพทย์ก็ใช้ยาขับปัสสาวะรักษาอาการบวมน้ำเพื่อให้ร่างกายขับน้ำส่วน เกินออกมา แต่บางครั้งยานี้ก็ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่สำคัญ โดยเฉพาะแร่ธาตุที่ควบคุมให้หัวใจเต้นเป็นปกติ แม้ว่าบางกรณียังจำเป็นต้องใช้ยาขับปัสสาวะอยู่ แต่มีอีกหลากหลายวิธีที่คุณทำเองได้ เช่น ปรับปรุงอาหารการกิน ดื่มชาสมุนไพร และเดินออกกำลังกายสัปดาห์ละหลายๆ ครั้ง ก็แก้ปัญหาได้แล้ว...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น